บทที่ 5 จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา
1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
คือ การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย
และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
ตัวอย่างของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์
·
การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
·
การปกปิดความผิดของตัวเอง
โดยใช้ระบบการสื่อสาร
·
การละเมิดลิขสิทธิ์
ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
·
การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร
และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
·
การฟอกเงิน
· การก่อกวน
ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
·
การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ
ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
·
การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
·
การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง
2. อธิบายความหมายของ
2.1
Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆเป็นอย่างมาก
สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเองหรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง
2.2
Cracker หมายถึง บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัวมีความหมายเดียวกับ
Hacker แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการกระทำ
2.3
สแปม (Spam) คือการส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ
ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย
2.4
ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น
โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ
ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที มักถูกแนบมากับอีการ์ด อีเมล์
หรือการดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ต
2.5
สปายแวร์ หมายถึง โปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา
เพื่อสร้างความราคาญให้ผู้ใช้งาน เช่น หน้า Pop Up โฆษณา
3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 ตัวอย่าง
ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการ
จึงมี กฏหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่กำหนดบทลงโทษ
๑) มาตรา ๕ ระบุว่า
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ
ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน
หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒) มาตรา ๗ ระบุว่า
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน
๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ
เช่น
แฮกเกอร์หรือพวกมือดีชอบแอบก๊อปปี้ขโมยข้อมูลของบริษัทออกไป
โดยไม่ได้รับอนุญาตจะโดนคดีอาญายอมความไม่ได้
ติดคุกสูงสุดตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๒ ปี ปรับสูงสุดอีกตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ บาท
๓) มาตรา ๙ ระบุว่า
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน
๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๔) มาตรา ๑๐ ระบุว่า
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ
เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น
การกระทำประเภทมือดีแอบลบไฟล์คนอื่น สร้างไวรัสที่ทำลายข้อมูล
หรือมีการแก้ไขข้อมูลบางส่วน
รวมไปถึงการกระทำที่มีผลให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เป็นไปตามปกติด คือ ถูกระงับ
ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน พวกนี้โดนเล่นงานหมด
๕) มาตรา ๑๔ ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น
๑. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ
น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
๒. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ
ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม